พระนารท หรือ พระนารอด หรือ พระนาระทะ
เป็น1 ใน พระประชาบดี (เทวฤษีที่เป็นพระผู้สร้าง) ๑๐ องค์ คือ เป็นผู้ประดิษฐ์ "วีณา" -- พิณน้ำเต้า
พระฤๅษีนารทบำเพ็ญพรตอยู่เชิงเขาโสฬส นอกเมืองลงกา เมื่อคราวหนุมานไปถวายแหวนแก่นางสีดาได้เหาะเลยเมืองลงกาเพราะไม่รู้จักทาง ไปพบกันเข้าจึงเกิดการประลองฤทธิ์กัน แต่หนุมานเกิดพ่ายแพ้ต่อฤทธิ์พระฤๅษีจึงยอมอ่อนน้อม และเมื่อคราวหนุมานไปเผากรุงลงกาไฟที่ติดหางหนุมานจะดับอย่างไรก็ไม่สามารถดับได้ หนุมานจึงไปหาพระฤๅษีนารทให้ช่วยดับไฟให้
พระฤาษีนารอด เป็นครูของฤาษีทั้งปวง ทรงกำเนิดจากเศียรที่ ๕ ของพระพรมธาดา ทรงเพศเป็นฤาษี พระฤาษีนารอดถือว่าเป็นฤาษีองค์แรกของไตรภูมิ ไม่ว่าจะมีการบูชาสิ่งใด หากไม่มีการเชิญท่านแล้ว พิธีกรรมนั้นมักไม่สมบูรณ์
รูปลักษณ์ของท่านที่สร้างเป็นหัวโขน(ศรีษะครู)สำหรับบูชาเป็นรูปหน้าพระฤาษีหน้าปิดทอง สวมลอมพอกฤาษี มี(กระดาษ)ทำเป็นผ้าพับเป็นชั้นลดหลั่นกันไป เสียบอยู่กลางลอมพอก
สิ่งที่เกี่ยวกับพระฤาษีนารอด เพิ่มเติม
พระรอดเป็นพระเครื่องราง ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไม่แพ้พระสมเด็จฯ และพระนางพญา ได้ถูกขนานนามว่าเป็น " เทวีแห่งนิรันตราย " ทั้งได้แสดงคุณวิเศษทางแคล้วคลาดเป็นที่ประจักษ์มาแล้วมากมาย ตามตำนานกล่าวว่า "พระนารทฤาษี" เป็นผู้สร้างพระพิมพ์นี้ขึ้น จึงเรียกพระพิมพ์นี้ว่า "พระนารท" หรือ "พระนารอด" ครั้นต่อมานานเข้ามีผู้เรียกและผู้เขียนเพี้ยนไปเป็น "พระรอท" และในที่สุด ก็เป็น"พระรอด" อีกทั้งเหมาะกับภาษาไทยที่แปลว่า รอดพ้น จึงนิยมเรียกพระพิมพ์เครื่องรางชนิดนี้ว่า พระรอด เรื่อยมาโดย ไม่มีผู้ใดขัดแย้ง พระรอดพบในอุโมงค์ใต้เจดีย์ใหญ่วัดมหาวัน หรือที่เรียกว่า มหาวนาราม ณ จังหวัดลำพูน ซึ่งปรากฏอยู่ถึงจนปัจจุบันนี้ อนึ่ง วัดมหาวันเป็นวัดโบราณของมอญลานนาในยุคทวาราวดี ขณะที่พระเจ้าเม็งรายยกทัพมาขับไล่พวกมอญออกไปราว พ.ศ.1740 นั้น ก็พบว่าวัดนี้เป็นโบราณสถานอยู่ก่อนแล้ว ฉะนั้นจึงไม่น่ามีปัญหาใดเลยว่า พระรอดนี้ควรมีอายุ เกินกว่าพันปีเป็นแน่ แต่เพิ่งมาพบเมื่อประมาณ 50 ปีมานี่เอง
เป็น1 ใน พระประชาบดี (เทวฤษีที่เป็นพระผู้สร้าง) ๑๐ องค์ คือ เป็นผู้ประดิษฐ์ "วีณา" -- พิณน้ำเต้า
พระฤๅษีนารทบำเพ็ญพรตอยู่เชิงเขาโสฬส นอกเมืองลงกา เมื่อคราวหนุมานไปถวายแหวนแก่นางสีดาได้เหาะเลยเมืองลงกาเพราะไม่รู้จักทาง ไปพบกันเข้าจึงเกิดการประลองฤทธิ์กัน แต่หนุมานเกิดพ่ายแพ้ต่อฤทธิ์พระฤๅษีจึงยอมอ่อนน้อม และเมื่อคราวหนุมานไปเผากรุงลงกาไฟที่ติดหางหนุมานจะดับอย่างไรก็ไม่สามารถดับได้ หนุมานจึงไปหาพระฤๅษีนารทให้ช่วยดับไฟให้
พระฤาษีนารอด เป็นครูของฤาษีทั้งปวง ทรงกำเนิดจากเศียรที่ ๕ ของพระพรมธาดา ทรงเพศเป็นฤาษี พระฤาษีนารอดถือว่าเป็นฤาษีองค์แรกของไตรภูมิ ไม่ว่าจะมีการบูชาสิ่งใด หากไม่มีการเชิญท่านแล้ว พิธีกรรมนั้นมักไม่สมบูรณ์
รูปลักษณ์ของท่านที่สร้างเป็นหัวโขน(ศรีษะครู)สำหรับบูชาเป็นรูปหน้าพระฤาษีหน้าปิดทอง สวมลอมพอกฤาษี มี(กระดาษ)ทำเป็นผ้าพับเป็นชั้นลดหลั่นกันไป เสียบอยู่กลางลอมพอก
สิ่งที่เกี่ยวกับพระฤาษีนารอด เพิ่มเติม
พระรอดเป็นพระเครื่องราง ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไม่แพ้พระสมเด็จฯ และพระนางพญา ได้ถูกขนานนามว่าเป็น " เทวีแห่งนิรันตราย " ทั้งได้แสดงคุณวิเศษทางแคล้วคลาดเป็นที่ประจักษ์มาแล้วมากมาย ตามตำนานกล่าวว่า "พระนารทฤาษี" เป็นผู้สร้างพระพิมพ์นี้ขึ้น จึงเรียกพระพิมพ์นี้ว่า "พระนารท" หรือ "พระนารอด" ครั้นต่อมานานเข้ามีผู้เรียกและผู้เขียนเพี้ยนไปเป็น "พระรอท" และในที่สุด ก็เป็น"พระรอด" อีกทั้งเหมาะกับภาษาไทยที่แปลว่า รอดพ้น จึงนิยมเรียกพระพิมพ์เครื่องรางชนิดนี้ว่า พระรอด เรื่อยมาโดย ไม่มีผู้ใดขัดแย้ง พระรอดพบในอุโมงค์ใต้เจดีย์ใหญ่วัดมหาวัน หรือที่เรียกว่า มหาวนาราม ณ จังหวัดลำพูน ซึ่งปรากฏอยู่ถึงจนปัจจุบันนี้ อนึ่ง วัดมหาวันเป็นวัดโบราณของมอญลานนาในยุคทวาราวดี ขณะที่พระเจ้าเม็งรายยกทัพมาขับไล่พวกมอญออกไปราว พ.ศ.1740 นั้น ก็พบว่าวัดนี้เป็นโบราณสถานอยู่ก่อนแล้ว ฉะนั้นจึงไม่น่ามีปัญหาใดเลยว่า พระรอดนี้ควรมีอายุ เกินกว่าพันปีเป็นแน่ แต่เพิ่งมาพบเมื่อประมาณ 50 ปีมานี่เอง
พระฤษีนารอด ท่านเป็นหมอยาที่มีคาถาอาคมเก่งกล้า ทั้งยังเป็นอาจารย์รดน้ำมนต์ที่เก่งที่สุดอีกด้วยท่านมีบารมีมาก ปวงชนทั่วไปก็มักจะรู้จักพระนามของท่านแทบทั้งนั้น รูปร่างหน้าตาของท่านก็ยังมีหนวดเครายาวลงมาจากคางถึงในระหว่างอกมือถือดอกบัว ตรงด้านหน้ามีบาตรน้ำมนตร์ตั้งอยู่เป็นประจำ เก่งในทางรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ชงัดนักแล ถ้าหากผู้ใดมีความทุกข์ที่เกี่ยวกับการเจ็บไข้ได้ป่วย ก็จงบนบานศาลกล่าวกับท่านดูแล้วท่านก็จะต้องเมตตาเสด็จลงมาปัดเป่ารักษาให้โรคภัยนั้นหายไปในเร็ววันมักจะมีคนพูดกันทั่วไปว่า พระฤษีนารอดเป็นพี่ชายของ พระฤษีนารายณ์แต่บำเพ็ญพรตกันอยู่คนละแห่ง นานๆจึงจะได้พบกันสักครั้งหนึ่ง แต่เรื่องนี้มีความคลาดเคลื่อนอยู่ ที่จริงแล้วผู้ที่เป็นน้องชายของพระฤษีนารอดก็คือ พระฤษีนาเรศร์ มิใช่พระฤษีนารายณ์ ที่ถูกต้องก็คือ พระฤษีนาเรศร์ นี่แหละที่เป็นน้องชายแท้ๆของ พระฤษีนารอด และก็ได้บำเพ็ญตบะอย่างมุ่งมั่นอยู่กันคนละแห่ง สำหรับพระฤษีนาเรศร์นี้ ท่านเก่งในคาถาอาคมศักดิ์สิทธิ์มีเวทมนตร์ขลังเป็นที่สุด ชอบสันโดษบำเพ็ญพรตอยู่แต่ในป่าลึกๆ ไม่ค่อยชอบสมาคมกับใครเท่าใดนัก แม้แต่พี่น้องกันแท้ๆ ยังนานๆได้พบกันที พอพบกันก็จะดีใจถึงกับกอดกันแน่นด้วยความปลื้มปิติยินดีท่านที่กราบไหว้บูชาพระฤษีสององค์พี่น้องก็จะเป็นมงคลอันสูง ท่านก็จะได้แผ่บารมีแห่งความเมตตามายังท่าน มาป้องปัดบำบัดรักษา และคุ้ม
ครองมิให้โรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียนตลอดกาล....
พระฤษีนารอดสวมเทริดฤษี ยอดบายศรีลายหนังเสือ เป็นพระฤษีที่บำเพ็ญพรตอยู่ที่เชิงเขาโสฬสนอกกรุงลงกา เมื่อครั้งหนุมานไปถวายแหวนนางสีดา เหาะเลยกรุงลงกาไปจึงไปพบพระฤษีนารอด(ฤษีนารท) โดยบังเอิญ แล้วต่อสู้กัน หนุมานแพ้จึงยอมอ่อนน้อมให้พระฤษี และเมื่อครั้งหนุมานเผากรุงลงกาไฟที่ติดหางดับไม่ได้ พระฤษีนารอดจึงดับให้....
อีกที่มาหนึ่ง..........
ตำนานพระปรคนธรรพ หรือ พระฤาษีนารอท ดุริยเทพที่
ประทานความสำเร็จ เสน่ห์เมตตามหานิยมคำว่าพระฤาษีนารอดเป็นคำที่คนไทยเราคุ้นเคยเป็นอย่างดี แต่หาก ถามถึงความเป็นมาหลายคนก็ไม่รู้ ที่รู้ก็อาจไม่ถูกต้อง ดังนั้น จึงขอนำประวัติที่น่าสนใจของพระฤาษีตนนี้มาเล่าสู่กันฟังให้ผู้อ่านที่สนใจได้รับความรู้ที่ถูกต้อง เกี่ยวกับพระฤาษีตนนี้ด้วย
พระฤาษีนารอดเป็นพระฤาษีที่เกี่ยวข้องกับการดนตรีและมีชื่อเยกอยู่หลายชื่อ สำหรับชื่อคนทางนาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์ ดนตรีไทย คุ้นเคยและกราบไหว้บูชากันคือ "พระปรคนธรรพ" ถ้ากล่าวชื่อนี้ในหมู่นาฏศิลป์ย่อมรู้จักกันดีแต่คนทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงนาฏศิลป์ก็คงไม่รู้จัก หรือบางคนอาจเพิ่งเคยได้ยินนามนี้เป็นครั้งแรก
ในหนังสือบูชาครูดุริยะเทพ เรียบเรียงโดยพระอาจารย์ศิริพงศ์ ครูพันธ์กิจ เล่าเรื่องพระปรคนธรรพไว้ว่า มีนามจริงว่า "นารท" มีประวัติปรากฏในวรรณคดีต่างๆมากมาย ทั้งฝ่ายพราหมณ์และทางพระพุทธศาสนา พระปรคนธรรพแปลว่า ยอดของฤาษี ราชาแห่งฤาษี ผู้ประดิษฐ์พิณขึ้นเป็นท่านแรก บางแห่งออกนามว่า "เทพคนธรรพ์" "คนธรรพราช" เป็นผู้เชี่ยวชาญในการบรรเลง ขับร้อง โหราศาสตร์ กฏหมาย และทางการแพทย์ นักเลงไสยศาสตร์เรียกว่า "พระฤาษีนารอด" (พระฤาษีนารท) คามภัมภีร์โบราณของอินเดียกล่าวว่า พระฤาษีนารทเป็น พรหมฤาษี มหาประชาบดี พระนารทเป็นบุตรของมนู บางตำราว่า พระนารท เกิดจากพระนลาตของพระพรหมจึงได้รับสมญาว่าเป็นบุตรแห่งพรหม
พระฤาษีนารอดเป็นพระฤาษีที่เกี่ยวข้องกับการดนตรีและมีชื่อเยกอยู่หลายชื่อ สำหรับชื่อคนทางนาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์ ดนตรีไทย คุ้นเคยและกราบไหว้บูชากันคือ "พระปรคนธรรพ" ถ้ากล่าวชื่อนี้ในหมู่นาฏศิลป์ย่อมรู้จักกันดีแต่คนทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงนาฏศิลป์ก็คงไม่รู้จัก หรือบางคนอาจเพิ่งเคยได้ยินนามนี้เป็นครั้งแรก
ในหนังสือบูชาครูดุริยะเทพ เรียบเรียงโดยพระอาจารย์ศิริพงศ์ ครูพันธ์กิจ เล่าเรื่องพระปรคนธรรพไว้ว่า มีนามจริงว่า "นารท" มีประวัติปรากฏในวรรณคดีต่างๆมากมาย ทั้งฝ่ายพราหมณ์และทางพระพุทธศาสนา พระปรคนธรรพแปลว่า ยอดของฤาษี ราชาแห่งฤาษี ผู้ประดิษฐ์พิณขึ้นเป็นท่านแรก บางแห่งออกนามว่า "เทพคนธรรพ์" "คนธรรพราช" เป็นผู้เชี่ยวชาญในการบรรเลง ขับร้อง โหราศาสตร์ กฏหมาย และทางการแพทย์ นักเลงไสยศาสตร์เรียกว่า "พระฤาษีนารอด" (พระฤาษีนารท) คามภัมภีร์โบราณของอินเดียกล่าวว่า พระฤาษีนารทเป็น พรหมฤาษี มหาประชาบดี พระนารทเป็นบุตรของมนู บางตำราว่า พระนารท เกิดจากพระนลาตของพระพรหมจึงได้รับสมญาว่าเป็นบุตรแห่งพรหม
ในคัมภีร์วิษณุปุราณะกล่าวว่า พระนารทเป็นบุตรของพระกศยปเทพบิดร พระนารทได้รับการยกย่องนับถือมากกว่าบรรดาฤาษีทั้งปวง นอกจากพระปรคนธรรพจะมีนามจริงว่า นารท แล้ว ยังมีชื่ออื่น ๆ อีกมากมาย เช่น พระปิศุนา แปลว่า ผู้สื่อข่าว บางทีเรียกว่าพระกสิการกะ (ผู้ทำให้เกิดการถกเถียงต่อสู้ทะเลาะวิวาท) บางแห่งเรีกพระกปิพัตร (หน้าลิง) พระนารทนอกจากจะมีเพศเป็นชายแล้ว ยังมีเพศเป็นหญิงอีกปางหนึ่งชื่อนาง นารที เป็นภรรยาของพระนารายณ์แปลง ชื่อพราหมณ์สันนยาสี มีบุตรด้วยกัน 60 คน
คราวหนึ่งพระปรคนธรรพ (นารท) แปลงกายเป็นพญานกบินไปเกาะที่กิ่งของต้นมะเดื่อใหญ่ริมแม่น้ำ ด้วยกำลังของพญานกทำให้ผลมะเดื่อร่วงลงน้ำ ทำให้เกิดเสียงสูงต่ำต่างกันตามระดับความสูงต่ำของผลมะเดื่อ ทำให้พระปรคนธรรพ (นารท) คิดประดิฐ์เครื่องดนตรีได้อีกชิ้นหนึ่ง
ด้วยนิสัยประจำตัวของพระปรคนธรรพ (นารท) นี้เป็นผู้มีนิสัย ชอบแนะนำ ยุแหย่ให้เกิดเรื่องราวต่างๆ ขึ้นมากมายในหมู่เทวดา จึงได้นามว่า "ปิศุนา" พระบาทสมเด็จพระมงกูกเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงกล่าวถึงความสามารถของพระนารทว่า เป็นตริกาลสัชณระ ผู้รอบรู้ในกาลทั้งสาม คือ อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต สามารถสอดส่องเห็นทั่วไปด้วยตบะ เป็นผู้มีวชาทางเสน่ห์ เมตตามหานิยม เป็นผู้แต่งคัมภีร์ทางกฏหมาย ชื่อ "นารทิยธรรมศาสตร์" และเป็นผู้เล่าเรื่องรามายะณะได้ พระฤาษีวาลมิกิฟัง และพระฤาษีวาลมิกิจึงรถจาคัมภีร์รามายะณะขึ้นตามเทวโองการของพระพรหม
นักดนตรีปี่พาทย์และนาฏศิลป์ยกย่องนับถือพระปรคนธรรพ (นารท) มาก และถือว่าพระปรคนธรรพเป็นประธานควบคุมดูแลการบรรเลงคุมจังหวะหน้าทับ กำกับการบรรเลงและการฟ้อนรำ จึงนับถือตะโพนซึ่งมีหน้าที่บรรเลงคุมจังหวะหน้าทับว่าเป็นตัวแทนขององค์พระปรคนธรรพ
ทุกครั้งเมื่อเลิกจากการบรรเลงจะนำตะโพนเก็บไว้ในที่สูงกว่าเครื่องดนตรีประเภทอื่นๆ และก่อนการบรรเลงทุกครั้งจะมีการถวายเครื่องกำนลบูชาครูตะโพน ตลอดถึงการบรรเลงปี่พาทย์ประกอบการไหว้ครูทุกครั้งจะมีการห่มตะโพนด้วยผ้าขาว และปูลาดผ้าขาวเพื่อรองเท้าตะโพน จัดวางขันกำนลสำหรับให้ผู้บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ทุกคนได้บูชาครูที่หน้าผ้าขาวที่ปูลาดหน้าตะโพน และก่อนที่พิธีกรผู้ประกอบพิธีไหว้ครูจะทำพิธีไหว้ครูจะต้องมาบูชาครูตะโพนก่อน แล้วนำสังข์บรรจุน้ำสะอาด ขอพลีน้ำล้างหน้าตะโพน เพื่อทำน้ำมนต์ธรณีสาร ประพรมเครื่องดนตรีและผู้ร่วมพิธีไหว้ครูคราวหนึ่งพระปรคนธรรพ (นารท) แปลงกายเป็นพญานกบินไปเกาะที่กิ่งของต้นมะเดื่อใหญ่ริมแม่น้ำ ด้วยกำลังของพญานกทำให้ผลมะเดื่อร่วงลงน้ำ ทำให้เกิดเสียงสูงต่ำต่างกันตามระดับความสูงต่ำของผลมะเดื่อ ทำให้พระปรคนธรรพ (นารท) คิดประดิฐ์เครื่องดนตรีได้อีกชิ้นหนึ่ง
ด้วยนิสัยประจำตัวของพระปรคนธรรพ (นารท) นี้เป็นผู้มีนิสัย ชอบแนะนำ ยุแหย่ให้เกิดเรื่องราวต่างๆ ขึ้นมากมายในหมู่เทวดา จึงได้นามว่า "ปิศุนา" พระบาทสมเด็จพระมงกูกเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงกล่าวถึงความสามารถของพระนารทว่า เป็นตริกาลสัชณระ ผู้รอบรู้ในกาลทั้งสาม คือ อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต สามารถสอดส่องเห็นทั่วไปด้วยตบะ เป็นผู้มีวชาทางเสน่ห์ เมตตามหานิยม เป็นผู้แต่งคัมภีร์ทางกฏหมาย ชื่อ "นารทิยธรรมศาสตร์" และเป็นผู้เล่าเรื่องรามายะณะได้ พระฤาษีวาลมิกิฟัง และพระฤาษีวาลมิกิจึงรถจาคัมภีร์รามายะณะขึ้นตามเทวโองการของพระพรหม
นักดนตรีปี่พาทย์และนาฏศิลป์ยกย่องนับถือพระปรคนธรรพ (นารท) มาก และถือว่าพระปรคนธรรพเป็นประธานควบคุมดูแลการบรรเลงคุมจังหวะหน้าทับ กำกับการบรรเลงและการฟ้อนรำ จึงนับถือตะโพนซึ่งมีหน้าที่บรรเลงคุมจังหวะหน้าทับว่าเป็นตัวแทนขององค์พระปรคนธรรพ
เรื่องตำนานของพระปรคนธรรพ หรือ พระปรโคนธรรพ หรือพระนารท หรือพระฤาษีนารอดนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะมีตำแหน่งเป็นทั้งมหาฤาษี เทพฤาษี พรหมฤาษี ซึ่งหมายถึงเป็นผู้ที่มีตบะฌานแก่กล้า มีญาณหยั่งรู้กว้างขวาง ทรงความรู้รอบด้าน ทั้งพระเวท ทั้งการดนตรี กฏหมาย นอกจานี้ยังเป็นประชาบดี หมายถึงผู้เป็นใหญ่เหนือประชา คือ กลุ่มผู้สร้างมนุษย์กลุ่มแรก ตามตำนานกล่าวว่า ประชาบดีนั้นมีด้วยกัน ทั้งหมด 10 คน
1.มรีจิ
2.อัตริ
3.อังคีรส
4.ปุลัสสตะยะ
5.ปุลหะ
6.กระตุ
7.วสิฐ
8.ประเจตัส (ทักษะ)
9.ภฤคุ
10.พระนารท
นอกจากนี้พระนารทยังเป็นหนึ่งสัตปฤาษี หรือเจ็ดยอดฤาษีที่ได้รับความนับถือสูงสุดอีกด้วย ส่วนคำว่าพระปรคนธรรพ หรือปรโคธรรพ นั้นก็หมายถึงท่านเป็นยอดแห่งคนธรรพทั้งหลาย นี่แสดงให้เห็นว่าพระนารทนี้มีความสำคัญและได้รับการยกย่องมากที่สุด
ในบางแห่งกล่าวว่า พระฤาษีนารท (นารอด) เป็นพวกกระเทย เรื่องนี้เห็นจะเป็นเพราะว่า พระฤาษีนารทนั้นบางครั้งเป็นหญิง บางครั้งเป็นายและยังชอบทางการดนตรีด้วย แต่เรื่องนี้ถือว่าเป็นความเข้าใจผิด เพราะหากพิจารณาดูแล้วทางด้านคุณธรรมที่เป็นถึงพรหมฤาษีนั้น แสดงว่า พระนารทหรือพระฤาษีนารอดนี้อยู่ชั้นพรหม ตามตำราทางพระพุทธศาสนา และพราหมณ์กล่าวคล้ายกนว่า ในชั้นพรหมนั้นผู้ที่เข้าถึงไดต้องได้ฌานสมาบัติตั้งแต่ฐมฌานขึ้นไป ผู้เข้าสู่ชั้นพรหมนั้นจะเป็นผู้หมดจากอุปาทานทางเทศ ในพรหมจึงไม่ปรากฏว่าเป็นชายหรือหญิง เสวยสุขด้วยกำลังฌานตามแต่ละขั้นของตน
พระนารท หรือพระฤาษีนารอด คือผู้สำเร็จฌานแก่กล้า จึงย่อมเป็นผู้ไม่อยู่ในวิสัยของกะเทย เพราะย่อมละ อัตภาพของความเป็นหญิงและชายไปแล้ว ทั้งผู้ที่ถึงเรื่องพรหมย่อมไม่มีกามราคะ เพราะกามราคะนั้นนอนนิ่งเหมือนตะกอนใต้น้ำ หรือดั่งหญ้าโดนหินทับด้วยอำนาจตบะฌานนันแล ส่วนเรื่องวาจาไม่อยู่สุขและเรื่องราวต่างๆ ที่มักปรากฏขึ้นในวรรณคดีนั้น หากพจารณาแล้วจะเข้าใจได้ว่าแท้จริงเรื่องราวทั้งหมดที่ เกิดขึ้นก็ล้วนเป็นมายา พระนารทเป็นประดุจลมที่พัดเอาวาจาหรือคำพูดของแต่ละคนไปเท่านั้นเอง พระนารทเสมือนหนึ่งเป็นผู้ดำเนินเรื่องให้สมบูรณ์ และเรื่องทั้งหมดแท้จริงเป็นเพียงมายา หามีสาระอย่างใดไม่ เป็นเพียงคติสอนใจว่าการพูดจาสิ่งใด การกระทำสิ่งใดควรไตร่ตรองพิจารณาให้ดี แล้วจึงทำทุกอย่างย่อมเป็นสุขไม่มีทุกข์เกิดขึ้นในภายหลัง
ท่านผู้อ่านคงเข้าใจได้ว่าวิชานาฏศิลป์ดุริยางคศิลป์นั้น หาใช่วิชาสามัญหรือวิชาพื้นๆ ก็หาไม่ แต่เป็นวิชาศักดิ์สิทธิ์มีเค้ามาจากเบื้องบน มีเทพเจ้าเป็นผู้ให้กำเนิด เป็นของมีครู ดังนั้นเราคนไทยผู้ได้รับการสืบสานวิชาการเหล่านี้มาจนถึงปัจจุบันจึงควรให้ความสนใจและสมควรแก่การอนุรักษ์สืบต่อไปมิให้สูญหายไปตามวันเวลา..
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น